วันอาทิตย์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

ที่มาและความสำคัญ

บทที่1
1.ที่มาและความสำคัญของปัญหา
กีฬาเป็นสื่อที่ทำให้เราได้ออกกำลังกายบริหารกล้ามเนื้อทำให้มีร่างกายและสุขภาพที่แข็งแรงดีสำหรับผมผมชอบกีฬาหลายประเภท หนึ่งในนั้นคือฟุตบอลเพราะผมชอบดูฟุตบอลและมีหลายคนบนโลกใบนี้ที่ชอบกีฬาฟุตบอลกีฬาฟุตบอลเป็นกีฬาที่ต้องเล่นกันเป็นทีม ต้องมีการวางแผน สามัคคี เพราะถ้าไม่มีแผนและความสามัคคีจะทำให้ทสามารถแพ้ได้ นักเตะและทีมที่ผมชอบก็มีหลายคน เพราะแต่ละเกมที่ผมดูผมก็จะประทับใจผู้เล่นคนต่างๆกีฬาเป็นสิ่งที่มีประโยชน์เวลาถ้ามีเวลาว่างก็ควรไปออกกำลังกายเล่นกีฬาเพื่อที่สุขภาพจะได้แข็งแรง
ฟุตบอล (Football) หรือซอคเก้อร์ (Soccer) เป็นกีฬาที่มีผู้สนใจที่จะชมการแข่งขันและเข้าร่วมเล่นมากที่สุดในโลก ชนชาติใดเป็นผู้กำเนิดกีฬาชนิดนี้อย่างแท้จริงนั้นไม่อาจจะยืนยันได้แน่นอน เพราะแต่ละชนชาติต่างยืนยันว่าเกิดจากประเทศของตน แต่ในประเทศฝรั่งเศสและประเทศอิตาลี ได้มีการละเล่นชนิดหนึ่งที่เรียกว่า "ซูเลอ" (Soule) หรือจิโอโค เดล คาซิโอ (Gioco Del Calcio) มีลักษณะการเล่นที่คล้ายคลึงกับกีฬาฟุตบอลในปัจจุบัน ทั้งสองประเทศอาจจะถกเถียงกันว่ากีฬาฟุตบอลถือกำเนิดจากประเทศของตน อันเป็นการหาข้อยุติไม่ได้ เพราะขาดหลักฐานยืนยันอย่างแท้จริง ดังนั้น ประวัติของกีฬาฟุตบอลที่มีหลักฐานที่แท้จริงสามารถจะอ้างอิงได้ เพราะการเล่นที่มีกติกาการแข่งขันที่แน่นอน คือประเทศอังกฤษเพราะประเทศอังกฤษตั้งสมาคมฟุตบอลในปี พ.ศ. 2406 และฟุตบอลอาชีพของอังกฤษเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2431เว็บไซต์.http://www.educatepark.com/…/soccerthai.php:เข้าถึงเมื่อวัน…)
ด้วยเหตุที่กีฬาฟุบอลเป็นที่นิยมเล่นกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันทำให้ผู้ศึกษาต้องการศึกษาในหัวข้อฟุตบอลเพื่อนำประโยชน์ที่ได้จากการศึกษาไปปรับใช้ในชีวิตต่อไป


2วัตถุประสงค์ของการศึกษา
2.1เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของกีฬาฟุตบอล
2.2เพื่อศึกษากีฬาบอลในประเทศไทย
3.ขอบเขตที่จะศึกษา
3.1การศึกษาเรื่องฟุตบอลมีขอบเขตการศึกษาเรื่องประวัติของกีฬาฟุตบอลและกีฬาฟุตบอลในประเทศไทย
4.ประโยชน์ของการศึกษา
4.1ทราบประวัติความเป็นมาของฟุตบอล
4.2ทราบว่าใครเป็นคนนำฟุตบอลเข้ามาเล่นในประเทศ
4.3ทราบว่านำเข้ามาในสมัยใด
5.นินามศัพท์เฉพาะ
ฟุตบอล คือกีฬาที่เล่นกันเป็นทีมในทีมมีนผู้เล่นฝั่งละ11คนใช้ลูกฟุตบอล
RWM ย่อมาจาก Right Wing Midfield หรือปีกขวา เป็นตำแหน่งที่อาศัยการครองบอลเติมเกมรุกจากด้านข้างฝั่งขวาเป็นหลัก ซึ่งจะต้องใช้นักเตะที่มีทักษะระดับสูง และความเร็วที่จัดจ้าน รวมถึงการเปิดบอลระยะสั้นได้อย่างแม่นยำอีกด้วย
GK ย่อมาจาก Goal Keeper หรือผู้รักษาประตู คงไม่มีใครไม่รู้จักกับตำแหน่งนี้ ซึ่งเป็นปราการหลังสุดของทีม โดยเฉพาะโกล์ที่รักษาประตูได้หนึบมากๆ จะสร้างความหนักใจให้กับกองหน้าได้ไม่น้อยเลยทีเดียว

ประวัติ

ฟุตบอลทีมชาติไทยก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2458 ในนามคณะฟุตบอลสำหรับชาติสยาม และเล่นการแข่งขันอย่างไม่เป็นทางการครั้งแรก (พบกับทีมฝ่ายยุโรป) ที่สนามราชกรีฑาสโมสร ในวันที่ 20ธันวาคม ในปีนั้น จนวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงก่อตั้งสมาคมฟุตบอลแห่งสยามฯ โดยลงเล่นในการแข่งขันระหว่างประเทศครั้งแรกใน พ.ศ. 2473 พบกับทีมชาติอินโดจีน ซึ่งประกอบไปด้วยผู้เล่นเวียดนามใต้ และ ฝรั่งเศส เพื่อต้อนรับการเสด็จประพาสอินโดจีนของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยชื่อของทีมชาติและชื่อของสมาคมได้ถูกเปลี่ยนชื่อในปี พ.ศ. 2492 เมื่อสยามกลายเป็นประเทศไทย
ในปี พ.ศ. 2499 พล.ต.เผชิญ นิมิบุตร ซึ่งเป็นนายกสมาคม ได้มีการหาผู้เล่นจากหลายสโมสรเพื่อจัดตั้งทีมที่จะลงแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 1956ที่เมลเบิร์น โดยเป็นครั้งแรกของทางทีมที่ได้มีโอกาสเข้าร่วมในกีฬาโอลิมปิก ในการแข่งขันนั้นเป็นการแข่งขันแบบแพ้คัดออก ทีมไทยจับฉลากพบกับสหราชอาณาจักร ในวันที่ 26 พฤศจิกายน โดยทีมไทยพ่ายแพ้ไป 0-9 (ความพ่ายแพ้ที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์) และไม่ผ่านเข้ารอบก่อนชิงชนะเลิศ โดยในรอบที่สอง ทีมสหราชอาณาจักรก็พ่ายแพ้ให้กับทีมชาติบัลแกเรีย 6 ประตูต่อ โดยทีมชาติบัลแกเรียได้เหรียญทองแดง ทีมชาติยูโกสลาเวีย ได้เหรียญเงิน และทีมชาติโซเวียตได้เหรียญทองไปครอง[2] ภายหลังจากการแข่งขัน หนังสือพิมพ์สยามนิกร ฉบับวันที่ 28 พฤศจิกายน ได้พาดหัวข่าวหน้ากีฬาว่า "ทีมชาติอังกฤษเฆี่ยนทีมชาติไทย 9 - 0"ซึ่งภายหลังจบการแข่งขัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงได้ส่ง พล.ต.ดร.สำเริง ไชยยงค์ นักฟุตบอลในชุดโอลิมปิกนั้น ไปศึกษาพื้นฐานการเล่นฟุตบอลจากประเทศเยอรมนีเพื่อให้กลับมาสอนการเล่นฟุตบอลให้แก่ทีมไทย จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2508 ประเทศไทยคว้าเหรียญทองในกีฬาแหลมทอง (ปัจจุบันเรียกว่าซีเกมส์) ที่กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย จนถึง พ.ศ. 2552 ประเทศไทยชนะเลิศการแข่งขันทุกๆสองปีรวมทั้งสิ้น 12 ครั้ง
ทีมไทยได้เข้าร่วมโอลิมปิกฤดูร้อนอีกครั้งในปีพ.ศ. 2511 โดยแพ้ต่อทีมชาติบัลแกเรีย 0-7, ทีมชาติกัวเตมาลา 1-4 และทีมชาติเช็กโกสโลวาเกีย 0-8 ตกรอบแรกในการแข่งขัน ซึ่งผู้ชนะในคราวนี้ คือทีมชาติฮังการี ได้เหรียญทองไปครอง ซึ่งเป็นการเข้าร่วมการแข่งขันในโอลิมปิคเป็นครึ่งสุดท้ายจนถึง พ.ศ. 2552
ในปี 2515 ประเทศไทยได้มีโอกาสเป็นเจ้าภาพการแข่งขันฟุตบอล เอเชียนคัพ 1972 ซึ่งเป็นการจัดการแข่งขันเอเชียนคัพครั้งที่ โดยในการแข่งขันนี้ ทีมชาติไทยได้อันดับที่ โดยยิงลูกโทษชนะทีมชาติกัมพูชา 5 ประตูต่อ ภายหลังจากเสมอกัน ต่อ ซึ่งในการแข่งขันนี้ ทีมชาติอิหร่าน ชนะเลิศ และทีมชาติเกาหลีใต้ ได้รางวัลรองชนะเลิศตามลำดับ
ในปี 2519 ประเทศไทยได้แชมป์คิงส์คัพครั้งแรก โดยเป็นแชมป์ร่วมกับ ทีมชาติมาเลเซีย ภายหลังจากที่มีการเริ่มมีการจัดคิงส์คัพในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2511 โดยต่อมาทีมชาติไทยได้เป็นแชมป์คิงส์คัพอีกหลายครั้งรวมทั้งสิ้น 10 ครั้งด้วยกัน
สำหรับการแข่งขันในเอเชียนเกมส์ ทีมชาติไทยยังไม่สามารถที่จะชนะเลิศได้ โดยความสำเร็จสูงสุดคือเข้ารอบสี่ทีมสุดท้าย ในการแข่งขันเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 11 ที่จัดขึ้นที่ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ในปี พ.ศ.2533 เช่นเดียวกับ เอเชียนเกมส์ครั้งที่ 13 ที่จัดขึ้นที่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ในปี พ.ศ.2541 และ เอเชียนเกมส์ครั้งที่ 14 ที่จัดขึ้นที่ ปูซาน ประเทศเกาหลีใต้ ในปี พ.ศ. 2545และครั้งล่าสุดเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 15 ที่จัดขึ้นที่ โดฮา ในปี พ.ศ. 2549 ทีมชาติไทยก็เป็นทีมเดียวในย่านอาเซียนที่ผ่านเข้ารอบก่อนรองชนะเลิศ (ทีมสุดท้าย) ทำผลงานได้ยอดเยี่ยมเข้ารอบโดยเป็นที่ ของกลุ่มซี
ในปี 2537 ไทยได้ร่วมก่อตั้งสหพันธ์ฟุตบอลอาเซียน กับอีก ประเทศในภูมิภาคอาเซียน และนอกจากนี้ ประเทศไทยได้มีการเชิญสโมสรชั้นนำจากทั่วโลก มาแข่งขันกับในประเทศไทยหลายครั้ง ได้แก่ เอฟซีปอร์โต (2540) อินเตอร์มิลาน (2540) โบคาจูเนียร์(2540) ลิเวอร์พูล (2544) นิวคาสเซิลยูไนเต็ด (2547) เอฟเวอร์ตัน (2548) โบลตันวันเดอร์เรอร์ (2548) แมนเชสเตอร์ซิตี (2548 ที่ไทย และ2550 ที่อังกฤษ[3]และสโมสรชั้นนำอื่น ๆ และในปี 2551 ไทยตกรอบฟุตบอลรอบคัดเลือก รอบ 20 ทีมสุดท้าย โดยได้อยู่สายเดียวกับทีมอย่าง ญี่ปุ่น โอมาน บาห์เรน โดยไทยแข่งนัด ไม่ชนะใครเลย แพ้ 5เสมอทำให้ชาญวิทย์ ผลชีวิน ลาออกจากตำแหน่ง หลังจากนั้นไม่นาน ปีเตอร์ รีด อดีตนักเตะเอฟเวอร์ตันและทีมชาติอังกฤษก็เข้ามารับตำแหน่งแทนแต่ไทย ก็พลาดแชมป์ อาเซียนฟุตบอลแชมเปียนชิพ โดยการแพ้ทีมชาติเวียดนามรวมผลสองนัด 3-2 และยังพลาดคิงส์คัพ อีกรายการหนึ่งโดยดวลจุดโทษแพ้ ทีมชาติเดนมาร์กจนถึงช่วงเดือนกันยายน ปี 2552 ปีเตอร์ รีด ถูกปลดออกจากตำแหน่งเนื่องจากอนาคตที่ไม่แน่นอนในการคุมทีมชาติเพราะรีดมีข่าวว่าจะไปทำงานที่สโมสรฟุตบอลสโตกซิตี โดยเป็นผู้ช่วยของ โทนี พูลิส ผู้จัดการทีมสโต๊คซิตี
ในวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2552ไบรอัน ร็อบสัน ได้เข้ามาเป็นผู้จัดการทีมชาติไทยซึ่งเซ็นสัญญากับทีมชาติไทยไปจนถึงการแข่งขันฟุตบอลโลก 2014.

สารบัญ

สารบัญ
ประวัติ                                                                              หน้า 1
ที่มาและความสำคัญ                                                       หน้า  2

คำนำ

คำนำ
          การศึกษาฟุตบอลทีมชาติไทยเป็นผลงานของคนในประเทศไทย ที่ผู้เขียนได้เรียบเรียง ขึ้นเกิดจากความสนใจในฟุตบอล ปัจจุบันเรื่องเกี่ยวกับ การศึกษาฟุตบอลทีมชาติไทยนั้นไม่ค่อยจะมีคนศึกษา พวกเราเลยศึกษาเกี่ยวกับฟุตบอลในประเทศไทยและอีกหลายๆประเทศซึ่งนับตั้งแต่ทวีปต่างๆที่ศึกษาเกี่ยวกับฟุตบอลและซึ่งจะเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้ใจเราได้ตระหนักและร่วมกันศึกษาเกี่ยวกับกติกาของฟุตบอลเพื่อลดเหตุการณ์การเกิดทะเลาะวิวาด เหมือนที่นักฟุตบอลทะเลาะกันอย่างดังกล่าว 

การศึกษาฟุตบอลทีมชาติไทย
ฟุตบอลทีมชาติไทย เป็นตัวแทนของประเทศไทยในการแข่งขันฟุตบอลระหว่างประเทศ และอยู่ภายใต้การบริหารของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยทีมมีประวัติของความสำเร็จในการแข่งขันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือชนะเลิศอาเซียนฟุตบอลแชมเปียนชิพ 4 สมัย และชนะเลิศซีเกมส์ 9 สมัย โดยทีมชาติไทยยังสามารถคว้าอันดับ ในเอเชียนคัพ 1972 และเข้าร่วมการแข่งขันในโอลิมปิกฤดูร้อน 2 ครั้ง และในเอเชียนเกมส์ ครั้ง โดยอันดับโลกฟีฟ่าที่ทีมชาติไทยทำอันดับได้ดีที่สุด คือ อันดับที่ 42 ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2541 ปัจจุบันทีมชาติไทยอยู่อันดับที่ 129 ของโลก จากการจัดอันดับโดยฟีฟ่า(มิถุนายน พ.ศ. 2558)
                              ผิดพลาดประการใดขออภัยมาณที่นี้ด้วยครับ

วันอาทิตย์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2560

หน้าแรก



 รายงาน เรื่องประวัติฟุตบอล



เสนอ
ครู พยอม ไชยเพร็ช




จัดทำโดย
ด.ช.ทัตเทพ ยศวัฒนากุล เลขที่3 ม.3/8

ด.ช.อติภัทร ช่างถม เลขที่6 ม.3/8



รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา คอมพิวเตอร์


ชั้นมัธยมศึกษาปี3 โรงเรียนอุเทนพัฒนา


ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา2560